สวนไทย

งานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมหลักภายในบริเวณ Thailand Pavilion เลือกนำเสนอ 3 แนวคิดหลัก

  • 1. Resilience landscape
  • 2. Gastronomy Thailand
  • 3. Energy sustainability

  • 1. โซนชมบัว (Water Lilies Pond)

    เป็นส่วนจัดแสดงความงดงามของบัวประดับ หลากหลายพันธุ์ สีสัน บริเวณบ่อน้ำด้านหน้าอาคาร พรรณไม้ที่ปลูก เช่น บัวประดับ แหนแดง เจอราเนี่ยม หญ้าฝรั่น สับปะรดสี พุดซ้อน

  • 2. โซนลานอเนกประสงค์ พื้นที่สีเขียวบริเวณต้นไม้ใหญ่ (Green Space)

    ใช้สำหรับเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมของนิทรรศการหมุนเวียน เช่น สาธิต workshop แจกชิมตัวอย่างสินค้าและผลิตภัณฑ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การจัดสาธิตงานหัตถกรรม ฯลฯ

    โดยได้ติดตั้งประติมากรรมพญานาคไม้ไผ่สานเป็นจุดหมายตาที่ชัดเจนให้กับพื้นที่ และเลือกใช้พืชพรรณที่มีดอกสีฟ้าเพื่อสื่อถึงสายน้ำ พรรณไม้ที่ปลูก เช่น ผักกาดหอม แครทอ หัวผักกาด พริก สะระแหน่ โหระพา เซเลอรี่ โรสแมรี่ บีตรูต มันฝรั่ง

  • 3. โซนผักสวนครัวและสมุนไพร (Home Garden)

    เป็นการใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมักมีการใช้พื้นที่สวนข้างบ้านเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักและสมุนไพรสำหรับรับประทานในครัวเรือนได้ พร้อมสามารถใช้ประดับตกแต่งได้ โดยใช้พืชพรรณผักสวนครัวและสมุนไพรที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นและเหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลา เช่น แครอท ผักสลัด พริก สะระแหน่ โหระพา เป็นต้น

  • 4. โซนพืชบำบัดน้ำเสีย (Water Treatment Plants)

    เป็นพื้นที่จำลองการใช้พืชน้ำ เช่น หญ้าถอดปล้อง หรือหญ้าหางม้า และแหนแดง ในการบำบัดน้ำเสีย บริเวณอาคารบ้านเรือนได้ เพื่อคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

  • 5.โซนสวนริมน้ำ (Waterside Garden)

    จะมีอยู่ 2 บริเวณคือ บริเวณด้านหน้าอาคาร และบริเวณด้านหลังอาคาร โดยบริเวณด้านหน้าอาคารจะวางประดับในรูปแบบของคลื่นน้ำ ส่วนด้านหลังจะจัดวางในลักษณะของบ่อน้ำล้น ซึ่งพืชพรรณที่เลือกนำมาใช้จะเน้นเป็นไม้น้ำและไม้ชายน้ำ เช่น และพืชบำบัดน้ำ ที่มีระดับความสูง และสีสันของดอกแตกต่างกัน โดยพืชที่นำมาจัดสวนในระยะแรกซึ่งสามารถอยู่สภาพอากาศหนาวเย็นได้ คือ ไอริส คาล่าลิลลี่ หญ้าหางม้า อาซาเลีย และอื่นๆ เป็นต้น

  • 6. โซนกล้วยไม้และพรรณไม้เมืองร้อน (Orchid and Exotic Plants)

    เป็นเรือนระแนงสำหรับกล้วยไม้ และไม้ประดับ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลหวาย ว่านงาช้าง ลิ้นมังกร ชวนชม เป็นต้น จัดแสดงสับเปลี่ยนหมุนเวียนตามความเหมาะสมกับสภาพอากาศ

  • 7. โซนสวนลายไทย (Thai-styleก parterre)

    อยู่บริเวณที่ติดกับเส้นทางการสัญจรหลัก โดยการนำพืชพรรณมาจัดวางในรูปแบบของลวดลายไทยที่เรียบง่าย โดยเน้นการใช้พืชพรรณไม้ดอกในโทนสีม่วงและสีเหลือง ตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี และโทนสีรองคือ สีขาวและสีเขียว โดยพืชที่นำมาปลูก เช่น ลาเวนเดอร์ แอสเตอร์ สับปะรดสี ทิวลิป หญ้าฝรั่น เป็นต้น

    นอกจากนี้แล้วยังได้ สวนไทยได้เลือกใช้ไม้ประดับและไม้ผล เช่น ส้มประดับ ปลูกในกระถางลายครามหรือกระถางเคลือบ ในรูปแบบของไม้ดัด และไม้บอนไซ ซึ่งเป็นแนวคิดการปลูกไม้ประดับในอาคารหรือใกล้อาคาร เพื่อชื่นชมความงานและสะดวกต่อการหยิบใช้ และในช่วงฤดูกาลที่สามารถปลูกพรรณไม้เมืองร้อนได้ ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนต้นไม้บางส่วนในสวนไทย เช่น ปทุมมา ดาวเรือง มะลิ ชวนชม เป็นต้น